วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559

อิเหนา



                                      อิเหนา



ถอดคำประพันธ์จากเรื่องย่ออิเหนา  ตอนศึกกะหมังกุหนิง

        ท้าวกะหมังกุหนิง ส่งราชทูตไปสู่ขอนางบุษบา ที่เมืองดาหา ซึ่งก็รู้คำตอบภายในว่าอาจไม่ได้นางบุษบา 
เนื่องจากท้าวดาหายกให้เป็นตุนาหงันกับจรกาแล้ว จึงสั่งให้บรรดาเมืองขึ้นใหญ่น้อย ยกทัพมาสมทกันที่เมืองกะหมังกุหนิง
(ตุนาหงัน หมายถึงคู่หมั้น)

อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง   คำกลอนตอนที่เรียนนี้เริ่มจาก
  
         เมื่อเมืองขึ้นยกทัพมาถึงเมืองกะหมังกุหนิงท้าวกะหมังกุหนิงออกมต้อนรับ พระอนุชาของท้าวกะหมังกุหนิง ทั้ง ๒ พระองค์
คือ ระตูปาหยัง และระตูประหมัน ก็ยกทัพมา  เมื่อทั้งสองรู้ถึงสาเหตุที่ท้าวกะหมังกุหนิงจะยกทัพไปแย่งชิงนางบุษบา
ก็ทรงห้ามปราม โดยให้เหตุผลว่า พระธิดาที่สวย ใช่จะมีแต่พระธิดาของท้าวดาหา  เมืองอื่นก็มี  และอีกประการหนึ่ง
เมืองดาหาเป็นเมืองใหญ่ วงศ์อสัญแดหวา มีเมืองพี่เมืองน้องที่เก่งกล้า   ถ้าทำศึกกับเมืองดาหา ก็เท่ากับทำศึกกับวงศ์อสัญแดหวา ซึ่งเปรียบดังแสงอาทิตย์ ส่วนเมืองกะหมังกุหนิงเปรียบเหมือนหิ่งห้อย      แต่ท้าวกะหมังกุหนิงไม่เชื่อพระอนุชา
ทั้งสอง เพราะรักลูก เกรงว่าถ้าวิหยาสะกำ จะตายเพราะตรอมใจถ้าไม่ได้นางบุษบา ซึ่งถ้าหากวิหยาสะกำตาย
ท้าวกะหมังกุหนิงก็คงต้องตายด้วย เปรียบเหมือนต้นไม้ที่ต้องตายเพราะลูก

         ฝ่ายราชทูตที่ไปสู่ขอนางบุษบา  ได้ส่งพระราชสารของท้าวกะหมังกุหนิงให้ท้าวดาหา เมื่อท้าวดาหาทรงทราบใจความของในพระราชสาร ก็ตอบปฏิเสธไป เนื่องจากได้ตกลงให้นางบุษบาเป็นตุนาหงันกับจรกาไปแล้ว  และบรรดาข้าวของ-
เครื่องราชบรรณาการที่ท้าวกะหมังกุหนิงส่งมาก็ไม่ขอรับ  ราชทูตได้แจ้งเตือนให้ท้าวดาหาทราบว่า ท้าวกะหมังกุหนิงจะยก
กองทัพมาแย่งชิงนางบุษบา

        เมื่อราชทูตของเมืองกะหมังกุหนิงกลับไปแล้ว ท้าวดาหาก็ให้ทหารไปแจ้งข่าวพระเชษฐา ก็คือท้าวกุเรปัน และพระอนุชา
ทั้งสอง   ก็คือท้าวสิงหัดส่าหรี  และท้าวกาหลัง  นอกจากนี้ยังแจ้งไปยังเมืองของจรกา ให้ยกทัพมาช่วยรบโดยเร็ว
เมืองกุเรปัน เมื่อรู้ข่าวศึก ก็กังวลพระทัยมาก เนื่องจากอิเหนาอยู่กับนางจินตหราที่เมืองหมันหยาจึงสั่งให้แต่งจดหมายขึ้นมา ๒ ฉบับ  ส่งไปเมืองหมันหยา  ให้อิเหนา ๑ ฉบับ และให้ท้าวหมันหยา ๑ ฉบับ ให้เดินทางภายใน  ๑๕ คืน
แล้วก็สั่งให้กะหรัดตะปาตี (เป็นโอรสที่เกิด มะเดหวี มเหสีลำดับที่ ๒ มีศักดิ์เป็นพี่ของอิเหนา)ยกทัพไปสมทบกับทัพของอิเหนา
ที่จะยกมาจากเมืองหมันหยา โดยให้ยกทัพไปคอยที่ทางร่วมจะไปเมืองดาหา

         ฝ่ายเมืองกาหลัง ไม่มีพระโอรส จึงมอบหมายให้เสนาผู้ใหญ่ ตำแหน่ง ตำมะหงง กับ ดะหมัง เร่งยกทัพไปช่วย
เมืองดาหา  ระหว่างทาง ตำมะหงงกับดะหมัง ได้พบกับทัพของสุหรานากง  ที่มาจากเมืองสิงหัดส่าหรี  จึงสมทบทัพ
เดินทางมาพร้อมกัน

         กล่าวฝ่ายราชทูตเมืองกะหมังกุหนิง เมื่อเดินทางกลับถึงเมืองก็ไปเฝ้าท้าวกะหมังกุหนิง แล้วทูลเล่าเรื่องที่ไปเมืองดาหา
ให้ท้าวกะหมังกุหนิงฟังทุกประการ   ท้าวกะหมังกุหนิงโกรธแค้นที่ท้าวดาหาไม่ยอมยกพระธิดาให้จึงสึ่งให้จัดเตรียมทัพจะยกไป
ในวันรุ่งขึ้น   โดยกำหนดให้วิหยาสะกำเป็นทัพหน้า  ระตูปาหยังกับระตูประหมันเป็นทัพหลัง
ส่วนท้าวกะหมังกุหนิงเป็นจอมทัพหรือแม่ทัพทัพหลวง    ได้ปรึกษาพระโหราก่อนเคลื่อนทัพ  โหรทำนายว่า
       
  “เทียบดูดวงชะตาของทรงยศ      กับโอรสถึงฆาตชันษา…” หมายถึง  ท้าวกะหมังกุหนิงกับ วิหยาสะกำ  ชะตาขาด
        “จึงทูลว่าถ้ายกวันพรุ่งนี้              จะเสียชัยไพรีเป็นแม่นมั่น”    โหรบอบว่า  หากยกทัพพรุ่งนี้ แพ้แน่นอน
         “งดอยู่อย่าเสด็จสักเจ็ดวัน          ถ้าพ้นนั้นก็เห็นไม่เป็นไร”   ให้งดการศึกษาก่อน ๗ วัน แล้วค่อยมาหาฤกษ์ใหม่

        ท้าวกะหมังกุหนิงพิเคราะห์ดูแล้วก็ไม่ทำตามคำของโหร   เนื่องจากสั่งทหารจัดทัพ เตรียมเดินทางแล้ว เมื่อได้ตรัสไปแล้ว
ก็ต้องทำตามเกรงทหาจะดูหมิ่นได้  ประการที่สองถ้ายกทัพไปช้า  เมืองต่างๆ ที่จะมาช่วยเมืองดาหา อาจเดินทางมาถึงก่อน
การทำสงครามก็จะยากกว่าเดิม และประการสุดท้ายให้เป็นเรื่องของเวรกรรม แล้วก็สั่งเดินทัพ   โดยมีวิหยาสะกำเป็นทัพหน้า
เดินทางได้ ๑๐ วันก็ถึงเขตเมืองดาหา ท้าวกะหมังกุหนิงสั่งให้จัดทัพเป็นรูปนาคนาม  มีภูมิประเทศมีลำธารน้ำ และมีต้นไม้ใหญ่  สั่งให้ทหารสอดแนมข่าวศึก

        ท้าวดาหาพอทราบข่าวว่าข้าศึกยกมา สั่งให้ปะหรัดกะติกา(โอรสของท้าวดาหากับลิกู)เตรียมป้องกันเมือง
ไม่นานนักกองทัพของสุหรานากงที่มาจากเมืองสิงหัดส่าหรี และทัพของเมืองกาหลังที่มีตำมะหงงกับดะหมัง  คุมทัพมา ก็มาถึงเมืองดาหา สุหรานากง ตำมะหงง และดะหมัง เข้าไปเฝ้าเท้าดาหา ท้าวดาหาตรัสถามถึงเมืองกุเรปันว่าส่งใครมาช่วย
สุหรานากงแจ้งว่าให้กะหรัดตะปาตียกทัพมาสบทบทัพอิเหนายกมาช่วย  ท้าวดาหาไม่เชื่อเนื่องจากน้อยใจที่อิเหนาปฏิเสธ
การแต่งงาน   จนทำให้เกิดศึก  พร้อมกับสังให้สุรานากงตั้งรับอยู่ในพระนคร

         ฝ่ายดะหมังเมืองกุเรปันถึงหนังสือของท้าวกุเรปันไปถึงเมืองหมันหยา และนำจดหมายไปส่งให้อิเหนา
อิเหนาเปิดจดหมายอ่านทันที

              ในลักษณะนั้นวาปัจจามิตร             มาตั้งติดดาหากรุงใหญ่
          จงเร่งรีบรี้พลสกลไกร                       ไปช่วยชิงชัยให้ทันที
          ถึงไม่เลี้ยงบุษบาเห็นว่าชั่ว                แต่เขารู้อยู่ว่าตัวนั้นเป็นพี่
          อันองค์ท้าวดาหาธิบดี                      นั้นมิใช่อาหรือว่าไร
          มาตรแม้นเสียเมืองดาหา                   จะพลอยอายขายหน้าหรือหาไม่
         ซึ่งเกิดศึกสาเหตุเภทภัย                     ก็เพราะใครทำความไว้งามพักตร์
         ครั้งหนึ่งก็ให้เสียวาจา                       อายชาวดาหาอาณาจักร
         ครั้งนี้เร่งคิดดูจงนัก                          จะซ้ำให้เสียศักดิ์ก็ตามที
         แม้มิยกพลไกลไปช่วย                      เราม้วยก็อย่ามีดูผี
         อย่าดูทั้งเปลวอัคคี                          แต่นี้ขาดกันจนบรรลัย

        เมื่ออิเหนาอ่านสารของท้าวกุเรปันจบ ก็ครุ่นคิดว่าบุษบาจะสวยงามปานใด
กษัตริย์เมืองต่างๆ จึงจะต้องมาตายเพราะแย่งชิงนาง ถ้าสวยเหมือนจินตหรา
ก็น่าเอาชีวิตเข้าแลก  จึงแจ้งแก่ดะหมังว่า อีก ๗ วันจะยกทัพไป  ดะหมังจึงเชิญให้รีบยกทัพ
ไปก่อน เพราะอาจเสียงการ  ถ้าไปช้า

        ส่วนจดหมายอีกฉบับดะหมังนำไปส่งให้ท้าวหมันหยา 
ใจความจดหมายของท้าวกุเรปันถึงท้าวหมันหยาดังนี้
                
    ในลักษณ์อัษรสารา                  ว่าระตูหมันหยาเป็นผู้ใหญ่
            มีราชธิดายาใจ                               แกล้งให้แต่งตัวไว้ชั่วชาย
            จนลูกเราร้างคู่ตุนาหงัน                     ไปหลงรักผูกพันมั่นหมาย
            จะให้ชิงผัวเขาเอาเด็ดดาย                 ช่างไม่อายไพร่ฟ้าประชาชน
            บัดนี้ศึกประชิดติดดาหา                     กิจจาลือแจ้งทุกแห่งหน
            เสียงานการวิวาห์จลาจล                    ต่างคนต่างข้องหมองใจ
            การสงครามครั้งนี้มิไปช่วย                  ยังเห็นชอบด้วยหรือไฉน
            จะตัดวงศ์ตัดญาติให้ขาดไป                 ก็ตามแต่น้ำใจจะเห็นดี

         เมื่ออ่านจดหมายจบ ท้าวหมันหยาจึงบอกกับอิเหนาให้รีบยกทัพไปเมืองดาหา
ให้เอาระเด่นดาหยน(เป็นโอรสของท้าวหมันหยากับมะเดหวี)คุมทัพเมืองหมันหยาไปช่วยด้วย
ให้รีบยกทัพไปแต่พรุ่งนี้
        อิเหนาเข้าไปลานางจินตะหรา แต่นางจินตะหราไม่เชื่อ คิดว่าอิเหนาจะหาเหตุ
ไปหานางบุษบาที่เมืองดาหาจึงตัดพ้อต่อว่าด้วยความแค้นใจ น้อยใจ
                                    
…..แล้วว่าอนิจจาความรัก   พึ่งประจักษ์ดั่งสายน้ำไหล
                                         ตั้งแต่จะเชี่ยวเป็นเกลียวไป  ที่ไหนเลยจะไหลคืนมา…

        แต่เมื่ออิเหนายืนยันหนักแน่น  พร้อมทั้งนำจดหมายจากพระบิดามายืนยัน
นางจินตะหราจึงยอมเชื่อและอนุญาตให้ไปอิเหนาจึงฝากให้ช่วยดูแลนางมาหยารัศมี 
และนางสะการะวาตี มเหสีอีกสองคนด้วย ส่วนสังคามาระตา พระอนุชาของนางมาหยารัศมี
อิเหนานำไปด้วยเพราะรักและเอ็นดูเหมือนน้องชาย

         อิเหนาพร้อมระเด่นดาหยน และสังคามาระตา เดินทัพมาพบกับกะหรัดตะปาตี
ซึ่งยกทัพมาคอยอยู่ก่อนแล้วจึงสบทบทัพและมั่งหน้าไปเมืองดาหา ระหว่างทางอิเหนา
ก็เฝ้าคิดถึงนางทั้งสาม (ดังบทท่องจำที่ท่องกันนั้น) 
         เมื่อเดินทางเข้าเขตกรุงดาหา 
อิเหนาสั่งให้ตั้งทัพเป็นรูปครุฑนาม ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นภูเขา และมีทุ่งโล่ง  แล้วสั่งให้ตำมะหงง  เข้าไปแจ้งข่าวกับท้าวดาหาแทน  
ตำมะหงงเข้าเฝ้าท้าวดาหา ท้าวดาหาตรัสช่วนให้อิเหนาเข้าไปพัก
ในเมืองดาหา   ตำมะหงงแจ้งว่า อิเหนามีความผิดของทำงานแก้ตัวก่อน
ท้าวดาหาแจงให้สุหรานากงทราบว่าอิเหนาเดินทาง
มาถึงแล้วพร้อมกับ  กะหรัดตะปาตี ตามที่สุหรานากงบอกไว้แต่แรก   สุหรานากงจึงยกทัพ
ออกจากเมืองดาหาเพื่อมาสบทบกับทัพของอิเหนาที่นอกเมือง
         ท้าวกะหมังกุหนิง ให้ทหารไปสอดแนม  ทหารสอดแนมมาแจ้งว่ามีกองทัพใหญ่ยกมา และมีทัพออกจากเมืองดาหามาสบทบ จึงคาดว่า ทัพใหญ่ที่ยกมาเป็นทัพของจรกา
ทัพที่มาสมทบเป็นทัพของเมืองดาหาจึงมิได้กลัว  บัญชาให้ทหาเตรียมพร้อมจะยกเข้าประจัญ
วันพรุ่งนี้

            ครั้งรุ่งเช้ากษัตริย์ทั้ง ๕ ได้แก่  อิเหนา   กะหรัดตะปาตี  ระเด่นดาหยน  
สังคามาระตา และสุหรานากง
 ก็เตรียมพร้อมที่จะประจัญกับข้าศึก  เมื่อกองหน้าปะทะกัน 
สังคามาระตาจึงขับม้าบุกเข้าไปแต่ผู้เดียว อิเหนาเห็นว่ายังเด็ก และไม่มีประสบการณ์จึงชวน
ทุกคนตามไป  พบกับท้าวกะหมังกุหนิง   ท้าวกะหมังกุหนิงจึงถามหาจรกา 
          
ครั้นอิเหนาบอกให้ทราบ  ท้าวกะหมังกุหนิงก็พยายามหว่านล้อมให้อิเหนายกทัพกลับ
จนอิเหนาท้าทายทำให้วิหยาสะกำ ต้องออกรับแทนท้าวกะหมังกุหนิง  และสังคามาระตา
จึงขออิเหนาสู้กับวิหยาสะกำ  อิเหนาอนุญาตและห้ามลงจากหลังม้า ให้ใช้ทวนเอาชนะให้ได้   สังคามาระตาสังหารวิหยาสะกำด้วยทวน ท้าวกะหมังกุหนิงเห็นพระโอรสตายด้วยฝีมีของ
สังคามาระตาก็ขับม้าเข้าไล่ล่าสังคามาระตา แต่อิเหนาเข้าไปขัดขว้างแล้วเกิดการต่อสู้ระหว่างอิเหนากับท้าวกะหมังกุหนิง   อิเหนาสังหารท้าวกะหมังกุหนิงด้วยกริช ที่องค์ประตาระกาหราประทานให้

         กองทัพท้าวกะหมังกุหนิงแตก  พระอนุชาทั้งสองของท้าวกะหมังกุหนิง ระตูปาหยังและระตูประหมัน เข้าเฝ้า
เพื่อทูลขอเป็นเมืองขึ้น อิเหนาอนุญาตให้พระศพกลับไปทำพิธีที่บ้านเมือง  แล้วเดินไปดูศพของวิหยาสะกำ
                    ตรัสพลางย่างเยื้องยุรยาตร        องอาจดังไกรสรสีห์
            สองระตูตามเสด็จจรลี                     ไปที่วิหยาสะกำตาย
            มาเห็นศพทอดทิ้งกลิ้งอยู่                  พระพินิจพิศดูแล้วใจหาย
            หนุ่มน้อยโสภาน่าเสียดาย                 ควรจะนับว่าชายโฉมยง
            ทนต์แดงดังแสงทับทิม                   เพริศพริ้มเพรารับกับขนง
            เกศาปลายงอนงามทรง                  เอวองค์สารพัดไม่ขัดตา
            
กระนี้หรือบิดามิพิศวาส                    จนพินาศด้วยโอรสา
            แม้ว่าระตูจรกา                             งามเหมือนวิหยาสะกำนี้
            จะมิได้ร้อนรนด้วยปนศักดิ์                น่ารักรูปทรงส่งศรี
            ตรัสแล้วลีลาขึ้นพาชี                      กลับไปยังที่พลับพลาพลัน